ประโยชน์ของการทอดเทียนโฮม
1.ทำให้เกิดความสามัคคีระหว่างหมู่คณะ เพราะการทอดเทียนโฮมเป็นการเอาแรงกัน คือหมู่บ้านใกล้เคลียงจะนำเทียนไปทอดพร้อมพุ่มผ้าป่่า (เรียกกันว่าต้นดอกเงิน) ในงานจะมีการร้องรำต่าง ๆ อาทิ หมอลำ หรือสรภัญญะ เป็นที่สนุกสนานมาก
2. ได้ความเอื้ออาทรต่อกัน เพราะได้พูดคุยใกล้ชิด มีความรัก ความคิดถึงกัน เพราะมีงานทอดเทียนเป็นสื่อ
samang
ประวัติวัดหนองจอกพัฒนาราม
ประวัติวัดหนองจอกพัฒนาราม
วัดหนองจอกพัฒนาราม ตั้งอยู่หมู่บ้านหนองจอก หมู่ที่ ๔ ตำบลท่ามะเขือ อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ห่างจากตัวจังหวัดกำแพงเพชรประมาณ ๔๓ กิโลเมตร ห่างจากอำเภอคลองขลุง ประมาณ ๖ กิโลเมตร
ที่ตั้งวัด วัดนี้มีเนื้อที่ทั้งหมด ๑๕ ไร่ ๒ งาน ๑๖ วา โดยมีประชาชนช่วยกันบริจาคชื้อถวายให้เป็นสมบัติของวัด วัดนี้ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของหมู่บ้านหนองจอก
เริ่มสร้างวัด เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ มีท่านพระอาจารย์ประยงค์ซึ่งมาจากภาคอีสาน มาจำพรรษาและพร้อมกับญาติโยมริเริ่มสร้างวัดขึ้นในครั้งแรก โดยได้สร้างศาลาชั่วคราวและกุฏิชั่วคราวขึ้นพอเป็นที่บำเพ็ญกุศล และอยู่อาศัยของพระภิกษุสามเณร จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ท่านอาจารย์ประยงค์ได้ย้ายไปจำพรรษาที่บ้านนิคม ตำบลวังยาง เพื่อช่วยญาติโยมสร้างวัดขึ้นที่นั้นอีกต่อไป
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ พระอาจารย์สังข์ อตฺตทนฺโต ได้มาจำพรรษาและรักษาวัดสืบต่ออาจารย์ประยงค์ ในระยะนี้ท่านได้พัฒนาวัดวาอารามให้เจริญมาโดยลำดับได้ชักชวนญาติโยมสร้างศาลาการเปรียญขึ้น ๑ หลัง กว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๒๐ เมตร และสร้างกุฏิไม้ถาวรขึ้นมาเพื่อให้เป็นที่อยู่ของพระภิกษุสามเณร ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๘ พระอาจารย์สังข์ได้ลาสิกขาบท
ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ พระกอง ฐานิสฺสโร ได้เป็นหัวหน้าสงฆ์ต่อจากอาจารย์สังข์ ได้อยู่จำพรรษาดูและรักษาสืบต่อมา และได้สร้างหอสวดมนต์ขึ้นมาอีก ๑ หลัง จากนั้นมาก็มีพระภิกษุสามเณร เพิ่มขึ้นโดยลำดับตามสมควร แต่การทำสังฆกรรม และการบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ ยังไม่สะดวก เช่น ต้องเดินทางไปลงอุโบสถวัดศรีภิรมย์ อำเภอคลองขลุง พร้อมทั้งการบวชนาคก็ต้องเดินทางไปเช่นเดียวกัน
อนึ่งวัดหนองจอกพัฒนาราม ยังไม่เป็นสำนักสงฆ์ที่ถูกต้องตามกฎมหาเถรสมาคม ท่านพระอธิการกองจึงได้ดำเนินเรื่องราวขออนุญาตสร้างวัดปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้รับอนุญาตตั้งวัดเป็นสำนักสงฆ์ถูกต้องตามกฎมหาเถรสมาคม เมื่อได้รับอนุญาตตั้งวัดเป็นสำนักสงฆ์ถูกต้องแล้ว เจ้าคณะตำบลท่ามะเขือ จึงได้เสนอรายนามพระอธิการกองเป็นเจ้าอาวาส โดยผ่านเจ้าคณะอำเภอคลองขลุง และเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชรโดยลำดับ และได้รับหนังสือแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดหนองจอกพัฒนาราม โดยถูกต้องในปี พ.ศ. ๒๕๑๗
การก่อสร้างอุโบสถ ย้อนไปปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ท่านพระอธิการกองพร้อมกับคณะทายก ทายิกา กรรมการ ประชาชนชาวบ้านหนองจอก จึงมีมติเป็นเป็นเอกฉัน พร้อมกันในการที่จะก่อสร้างพระอุโบสถขึ้นในวัดให้จงได้ จึงไปกราบเรียนและปรึกษาหารือกับพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระวิบูลวชิรธรรม เจ้าคณะอำเภอคลอง ขลุง เพื่อให้พระเดชพระคุณท่านมาเป็นประธาน และวางศิลาฤกษ์ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ นั้น จากนั้นมาได้ลงมือก่อสร้างมาโดยลำดับ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ หลังจากได้ลงมือก่อสร้างพระอุโบสถเรื่อยมาท่านพระอธิการกองจึงได้มีหนังสือขอพระราชวิสูงคามสีมา โดยผ่านเจ้าคณะตามลำดับชั้นจนถึงกรมการศาสนา และได้รับพระราชโองการโปรดเกล้าพระราชท่านวิสูงคามสีมาให้ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ กำหนดเขตวิสูงคามสีมา กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร ตัวอุโบสถ กว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๙ เมตร ก่อสร้างด้วยคอนกรีต ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๑๘ โดยมีหม่อมราชวงค์เสนีย์ปราโมชเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการสร้างมาโดยลำดับ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๙ สร้างเสร็จแล้วสิ้นเงิน ๓๕๗,๖๖๔ บาท (สามแสนห้าหมื่นเจ็ดพันหกร้อยหกสิบสี่บาท)
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้สร้างเมรุขึ้นมาอีก ๑ หลัง สิ้นเงินไป ๕๐,๐๐๐ บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้สร้างกุฏิขึ้นอีก ๑ หลัง สร้างเสร็จ พ.ศ. ๒๕๒๑ สิ้นเงินไป ๙๔,๗๐๗ บาท (เก้าหมื่นสี่พันเจ็ดร้อยเจ็ดบาท)
ต่อมาในปีเดียวกันนั้นได้สร้างกุฏิขึ้นอีก ๑ หลัง และวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้สร้างกุฏิขึ้นอีก ๓ หลัง สร้างเสร็จวันที่ ๑๔ มิถุนายน สิ้นเงินไป ๕๓,๔๑๓
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ วันที่ ๕ ธันวาคม พระอธิการกอง ฐานิสฺสโร ได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้เป็นพระครูชั้นตรี ที่พระครูวชิรศีลขันธ์ ท่านได้บริหารวัดมาถึงปี พ.ศ. ๒๕๔๒ พระครูวชิรศีลขันธ์ ได้มรณภาพลง ในวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๒ ด้วยโรคหัวใจหวาย
ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้น คณะสงฆ์นำโดยพระครูวิบูลวชิรกิจ เจ้าคณะตำบลท่ามะเขือ ได้นำพระลูกวัดของท่าน คือพระสำอางค์ สุภาจาโร มารักษาการเจ้าอาวาสแทน พระครูวิชิรศีลขันธ์ ที่ได้มรณภาพไป เมื่อรักษาการเจ้าอาวาสคบสามเดือนแล้ว พระสำอางค์ สุภาจาโร จึงได้ถูกแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองจอกพัฒนารามต่อจากพระครูวชิรศีลขันธ์ในปีนั้นเอง พระอธิการสำอางค์ สุภาจาโร ได้สร้างเสนาสนะ ในปี ๒๕๔๓ สร้างกุฏิชั้นเดียว กว้าง ๙ เมตร ยาว ๙ เมตร สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก สิ้นเงินในการก่อสร้าง ๔๓๑,๕๖๙ บาท (สี่แสนสามหมื่นหนึ่งพันห้าร้อยหกสิบเก้าบาท) ในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ สร้างศาลาธรรมสังเวชขึ้น ๑ หลัง กว้าง ๑๗ เมตร ยาว ๒๐ เมตร สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก เสร็จสิ้นปี ๒๕๔๕ สิ้นเงินในการก่อสร้าง ๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านสองแสนบาท) ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ สร้างหอระฆังขึ้น ๑ หลัง สิ้นเงินในการก่อสร้าง ๓๐๐,๐๐๐ บาท (สามแสนบาทถ้วน) ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ สร้างซุ่มประตู้ทางทิศตระวันตกของวัดขึ้นมา ๑ ซุ่ม สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก สิ้นเงินในการก่อสร้าง ๓๘๐,๐๐๐ บาท (สามแสนแปดเหมื่นบาท) ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ในวันที่ ๕ ธันวาคมพระอธิการสำอางค์ สุภาจาโร ได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้เป็นพระครูชั้นโท ที่พระครูประภัศร์วชิรกิจ จนถึงปัจจุบัน.
************************
วัดหนองจอกพัฒนาราม ตั้งอยู่หมู่บ้านหนองจอก หมู่ที่ ๔ ตำบลท่ามะเขือ อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ห่างจากตัวจังหวัดกำแพงเพชรประมาณ ๔๓ กิโลเมตร ห่างจากอำเภอคลองขลุง ประมาณ ๖ กิโลเมตร
ที่ตั้งวัด วัดนี้มีเนื้อที่ทั้งหมด ๑๕ ไร่ ๒ งาน ๑๖ วา โดยมีประชาชนช่วยกันบริจาคชื้อถวายให้เป็นสมบัติของวัด วัดนี้ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของหมู่บ้านหนองจอก
เริ่มสร้างวัด เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ มีท่านพระอาจารย์ประยงค์ซึ่งมาจากภาคอีสาน มาจำพรรษาและพร้อมกับญาติโยมริเริ่มสร้างวัดขึ้นในครั้งแรก โดยได้สร้างศาลาชั่วคราวและกุฏิชั่วคราวขึ้นพอเป็นที่บำเพ็ญกุศล และอยู่อาศัยของพระภิกษุสามเณร จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ท่านอาจารย์ประยงค์ได้ย้ายไปจำพรรษาที่บ้านนิคม ตำบลวังยาง เพื่อช่วยญาติโยมสร้างวัดขึ้นที่นั้นอีกต่อไป
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ พระอาจารย์สังข์ อตฺตทนฺโต ได้มาจำพรรษาและรักษาวัดสืบต่ออาจารย์ประยงค์ ในระยะนี้ท่านได้พัฒนาวัดวาอารามให้เจริญมาโดยลำดับได้ชักชวนญาติโยมสร้างศาลาการเปรียญขึ้น ๑ หลัง กว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๒๐ เมตร และสร้างกุฏิไม้ถาวรขึ้นมาเพื่อให้เป็นที่อยู่ของพระภิกษุสามเณร ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๘ พระอาจารย์สังข์ได้ลาสิกขาบท
ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ พระกอง ฐานิสฺสโร ได้เป็นหัวหน้าสงฆ์ต่อจากอาจารย์สังข์ ได้อยู่จำพรรษาดูและรักษาสืบต่อมา และได้สร้างหอสวดมนต์ขึ้นมาอีก ๑ หลัง จากนั้นมาก็มีพระภิกษุสามเณร เพิ่มขึ้นโดยลำดับตามสมควร แต่การทำสังฆกรรม และการบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ ยังไม่สะดวก เช่น ต้องเดินทางไปลงอุโบสถวัดศรีภิรมย์ อำเภอคลองขลุง พร้อมทั้งการบวชนาคก็ต้องเดินทางไปเช่นเดียวกัน
อนึ่งวัดหนองจอกพัฒนาราม ยังไม่เป็นสำนักสงฆ์ที่ถูกต้องตามกฎมหาเถรสมาคม ท่านพระอธิการกองจึงได้ดำเนินเรื่องราวขออนุญาตสร้างวัดปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้รับอนุญาตตั้งวัดเป็นสำนักสงฆ์ถูกต้องตามกฎมหาเถรสมาคม เมื่อได้รับอนุญาตตั้งวัดเป็นสำนักสงฆ์ถูกต้องแล้ว เจ้าคณะตำบลท่ามะเขือ จึงได้เสนอรายนามพระอธิการกองเป็นเจ้าอาวาส โดยผ่านเจ้าคณะอำเภอคลองขลุง และเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชรโดยลำดับ และได้รับหนังสือแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดหนองจอกพัฒนาราม โดยถูกต้องในปี พ.ศ. ๒๕๑๗
การก่อสร้างอุโบสถ ย้อนไปปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ท่านพระอธิการกองพร้อมกับคณะทายก ทายิกา กรรมการ ประชาชนชาวบ้านหนองจอก จึงมีมติเป็นเป็นเอกฉัน พร้อมกันในการที่จะก่อสร้างพระอุโบสถขึ้นในวัดให้จงได้ จึงไปกราบเรียนและปรึกษาหารือกับพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระวิบูลวชิรธรรม เจ้าคณะอำเภอคลอง ขลุง เพื่อให้พระเดชพระคุณท่านมาเป็นประธาน และวางศิลาฤกษ์ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ นั้น จากนั้นมาได้ลงมือก่อสร้างมาโดยลำดับ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ หลังจากได้ลงมือก่อสร้างพระอุโบสถเรื่อยมาท่านพระอธิการกองจึงได้มีหนังสือขอพระราชวิสูงคามสีมา โดยผ่านเจ้าคณะตามลำดับชั้นจนถึงกรมการศาสนา และได้รับพระราชโองการโปรดเกล้าพระราชท่านวิสูงคามสีมาให้ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ กำหนดเขตวิสูงคามสีมา กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร ตัวอุโบสถ กว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๙ เมตร ก่อสร้างด้วยคอนกรีต ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๑๘ โดยมีหม่อมราชวงค์เสนีย์ปราโมชเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการสร้างมาโดยลำดับ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๙ สร้างเสร็จแล้วสิ้นเงิน ๓๕๗,๖๖๔ บาท (สามแสนห้าหมื่นเจ็ดพันหกร้อยหกสิบสี่บาท)
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้สร้างเมรุขึ้นมาอีก ๑ หลัง สิ้นเงินไป ๕๐,๐๐๐ บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้สร้างกุฏิขึ้นอีก ๑ หลัง สร้างเสร็จ พ.ศ. ๒๕๒๑ สิ้นเงินไป ๙๔,๗๐๗ บาท (เก้าหมื่นสี่พันเจ็ดร้อยเจ็ดบาท)
ต่อมาในปีเดียวกันนั้นได้สร้างกุฏิขึ้นอีก ๑ หลัง และวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้สร้างกุฏิขึ้นอีก ๓ หลัง สร้างเสร็จวันที่ ๑๔ มิถุนายน สิ้นเงินไป ๕๓,๔๑๓
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ วันที่ ๕ ธันวาคม พระอธิการกอง ฐานิสฺสโร ได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้เป็นพระครูชั้นตรี ที่พระครูวชิรศีลขันธ์ ท่านได้บริหารวัดมาถึงปี พ.ศ. ๒๕๔๒ พระครูวชิรศีลขันธ์ ได้มรณภาพลง ในวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๒ ด้วยโรคหัวใจหวาย
ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้น คณะสงฆ์นำโดยพระครูวิบูลวชิรกิจ เจ้าคณะตำบลท่ามะเขือ ได้นำพระลูกวัดของท่าน คือพระสำอางค์ สุภาจาโร มารักษาการเจ้าอาวาสแทน พระครูวิชิรศีลขันธ์ ที่ได้มรณภาพไป เมื่อรักษาการเจ้าอาวาสคบสามเดือนแล้ว พระสำอางค์ สุภาจาโร จึงได้ถูกแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองจอกพัฒนารามต่อจากพระครูวชิรศีลขันธ์ในปีนั้นเอง พระอธิการสำอางค์ สุภาจาโร ได้สร้างเสนาสนะ ในปี ๒๕๔๓ สร้างกุฏิชั้นเดียว กว้าง ๙ เมตร ยาว ๙ เมตร สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก สิ้นเงินในการก่อสร้าง ๔๓๑,๕๖๙ บาท (สี่แสนสามหมื่นหนึ่งพันห้าร้อยหกสิบเก้าบาท) ในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ สร้างศาลาธรรมสังเวชขึ้น ๑ หลัง กว้าง ๑๗ เมตร ยาว ๒๐ เมตร สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก เสร็จสิ้นปี ๒๕๔๕ สิ้นเงินในการก่อสร้าง ๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านสองแสนบาท) ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ สร้างหอระฆังขึ้น ๑ หลัง สิ้นเงินในการก่อสร้าง ๓๐๐,๐๐๐ บาท (สามแสนบาทถ้วน) ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ สร้างซุ่มประตู้ทางทิศตระวันตกของวัดขึ้นมา ๑ ซุ่ม สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก สิ้นเงินในการก่อสร้าง ๓๘๐,๐๐๐ บาท (สามแสนแปดเหมื่นบาท) ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ในวันที่ ๕ ธันวาคมพระอธิการสำอางค์ สุภาจาโร ได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้เป็นพระครูชั้นโท ที่พระครูประภัศร์วชิรกิจ จนถึงปัจจุบัน.
************************
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)